/เกาะสมุย - ประเพณี รับ – ส่ง ตายาย/  

 

 
 

แผนที่เกาะสมุย - แนะนำประเพณีอื่น

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
   
 

ประเพณี รับ – ส่ง ตายาย ทางภาคใต้มีประเพณีที่ยิ่งใหญ่อีกพิธีหนึ่ง คือ พิธี “สารทเดือนสิบ” พิธีนี้จัดได้ว่าถูกต้องและยิ่งใหญ่ที่มืองนครศรีธรรมราช ส่วนชาวภาคใต้ทั่วไป ได้จัดพิธีนี้เช่นกัน แต่เรียกว่า “งานทำบุญเดือนสิบ” ส่วนที่สมุยเรียกพิธีนี้ว่า “วันรับส่งตา – ยาย” ประเพณี สารทเดือนสิบ เป็นประพเณีที่ได้รับมาจากอินเดียเหมือนกับประเพณีอีกหลายๆ อย่าง ที่ชาวใต้รับมา ทั้งนี้เพราะชาวภาคใต้ติดต่อกับอินเดียมานาน ก่อนดินแดนส่วนอื่นของประเทศไทย วัฒนธรรมและอารยธรรมของอินเดียส่วนใหญ่จึงถ่ายทอดมายังชาวภาคใต้เป็นแหล่ง แรก โดยเฉพาะนครศรีธรรมราช

ในศาสนาพราหมณ์มีพิธีอยู่พิธีหนึ่งเรียกว่า “เปตพลี” เป็นพิธีจัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว พิธีกลายเป็นประเพณีปฎิบัติต่อกันมาก่อนพุทธกาล เมื่อถึงสมัยของพระพุทธองค์ทรงเห็นว่าพิธีนี้มีคุณค่าควรจะรักษาไว้ จึงทรงอนุญาตให้อุบากสอุบาสิกา กระทำต่อไปตราบถึงปัจจุบัน
ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร ได้ทรงประกอบพิธีปุพพเปตพลี คือ พิธทำบุญอุทิศส่วนบุญให้แก่บรรพบุรุษ ผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยกราบทูลเชิญพระศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ไปทรงอังคาร (ฉันอาหาร) ในพระราชวัง เมื่อฉันภัตตาหารเสร็จ พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายเครื่องไทยธรรมต่างๆ แก่ภิกษุสงฆ์ แล้วกล่าวอุทิศส่วนบุญกุศลไปให้พระญาติผู้ล่วงลับไปแล้วมีพระราชบิดา – มารดา เป็นต้น พระพุทธองค์ และพระภิกษุสงฆ์ทรงรับอนุโมทนา ซึ่งหมายความว่าคำอุทิศของพระเจ้าพิมพิสารในครั้งนั้น บรรพบุรุษของพระองคืที่ล่วงลับไปแล้ว ต่างก็ด้รับส่วนบุญโดยทั่วกัน

เมื่อพระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย พิธีกรรมต่างๆ ของพราหมณ์ ซึ่งเป็นวัฒนธรรของชาวอินเดีย เช่นพิธีเปตพลีที่กล่าวถึง ก็เข้ามาสู่ประเทศไทยทางตอนใต้ของประเทศด้วย นั้นก็คืพิธีสารทเดือนสิบ หรือ พิธีทำบุญเดือนสิบ หรือพิธีรับ – ส่ง ตายาย ของชาวสมุยที่กล่าวมานี้เอง
ชาวพุทธทางภาคใต้มีความเชื่อว่า เมื่อได้ประกอบพิธีนี้แล้ว บรรพบุรุษ ซึ่งมีพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตายาย ตลอดญาติ ๆ ที่ล่วงลับไปแล้ว จะได้รับส่วนบุญส่วนกุสล แม้ดวงวอญญาณ ตกทุกข์ได้ยากอยู่ในนรกขุมใดก็จะพ้นทุกข์ ที่มีความสุขอยู่แล้ว ก็จะรับสุขยิ่งๆขึ้นไป ดังเป็นที่ทราบกันแล้วว่าสายการปกครองของ เกาะสมุยเดิมขึ้นอยู่กับเมืองนครศรีธรรมราช วัฒนธรรมประเพณี หรือพิธีกรรมต่างๆ จึงนำแบบอย่างของเมืองนครศรีธรรมราชมาใช้
คำว่า “สารท” เป็นภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต เขียนว่า “ศารท” แปลหรือมีความหมายเป็นไทยว่าเกิดในฤดูใบไม้ร่วง หรือเทศกาลทำบุญเดือนสิบ เหตุผล การจัดงานเทศกาลเดือนสิบ ตามความเชื่อในพุทธศาสนา เชื่อว่าในปลายเดือนสิบนั้น ปู่ ย่า ตายาย และญาติที่ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะผู้มีบาปมาก จะตกนรก ซึ่งเรียกว่า เปรต จะได้รับการปล่อยตัวจากพยายม หรือยมบาล เพื่อให้ขึ้นมาพบญาติพี่น้อง และลูกหลานของตนในเมืองมนุษย์ในวันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ และให้กลับไปอยู่ในนรกดังเดิม ในวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ เป็นเวลาที่ขึ้นมาอยู่ในเมืองมนุษย์ 15 วัน ด้วยเหตุนี้เองญาติๆ ในเมืองมนุษย์จึงจัดหาอาหารต่างๆ ไปเลี้ยงดู โดยทำอาหารไปถวายพระแล้วจึงอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ดังเช่นพระเจ้าพิมพิ สารประกอบพิธีในสมัยพุทธกาล

ในวันแรมหนึ่งค่ำชาวนครศรีฯ เรียกว่าวันหมรับเล็ก ชาวสมุยเรียกว่าวันรับตายาย วันแรม 15 ค่ำ ชาวนครศรีฯ เรียกว่า วันหมรับใหญ่ ชาวสมุยเรียกว่าวันส่งตายาย คำว่า หมรับ ภาษาบาลีน่าจะตรงกับคำไทยว่า สำรับ หมายถึงภาชนะรองรับสำหรับบรรจุสิ่งของต่างๆ ลงไป เช่นเดียวกับคำว่า เหมรย ซึ่งน่าจะตรงกับคำไทยว่า จำเลย คือคำสัญญาที่ผูกมัดว่าจะต้องปฎิบัติ หรือผู้ที่ไม่ปฎิบัติตามกฎข้อบังคับ การจัดหมรับ หรือสำรับ ทางนครศรีธรรมราช สมัยก่อนใช้ภาชนะ ซึ่งเป็นกระบุงทรงเตี้ย สานด้วยตอกไม้ ระยะหลังเพื่อความสะดวก อาจจะใช้กระจาด ถาด กะละมัง กระเชอ ส่วนทางสมุยก็ใช้ภาชนะเช่นเดียวกันวิธีจัดหมรับหรือสำรับ ชั้นแรกจะใช้ข้าวสารรองก้น ชั้นต่อมาใช้เครื่องปรุง มีหอม กระเทียม พริก เกลือ น้ำตาล ฯลฯ ชั้นต่อไป จำพวกอาหารแห้ง เช่นปลาเค็ม เนื้อเค็ม พืชผักที่เก็บไว้ได้นานๆ เช่น มะพร้าว ฟัก อ้อย ข้าวโพด ตะไคร้ และของใช้ประจำวัน เช่น ไม้ขีดไฟ กะทะ ถ้วยชาม เข็ม ด้าย ตลอดของใช้ในเชี่ยนหมาก เช่น หมากพลู กานพลู การบูร พิมเสน ปูน ยาเส้น บุหรี่ ธูปเทียน ตลอดจนยาสามัญประจำบ้าน ส่วนชั้นบนสุด ถือว่าเป็นหัวใจของหมรับ คือขนม 5 อย่าง มีพอง ขนมลา ขนมกง (ไข่ปลา) ขนมดีซำ ขนมบ้า บางแห่งเพิ่มขนมลาลอยมัน (ขนมรังนก) เมื่อจัดอาหารสิ่งของลงในสำรับเรียบร้อย ก็จัดธงทิวรูปสามเหลี่ยมปักไว้ที่สำรับนั้นๆ การจัดสำรับจะจัดเป็นครอบครัว หรือจัดร่วมกันจัดเป็นของตระกูลต่างๆ

เฉพาะที่สมุยชาวบ้านจะทำสำรับดังกล่าวไปวัด ทั้งสองวันคือ วันแรม 1 ค่ำ ซี่งเป็นวันรับและวันแรม 15 ค่ำ ซึ่งเป็นวันส่ง โดยนำสำรับไปถวายพระที่วัดอยู่ใกล้ๆ บ้าน สำรับที่นำไปจะนำไปตั้งไว้บนสถานที่ๆ ทางวัดจัดไว้ให้สมัยก่อน เรียกว่า “หลาเปรต” เจ้าหน้าที่จะนำสายสิญจน์ มาผูกล้อมสำรับทั้งหมด ปลายสายสิญจน์ข้างหนึ่งนำให้พระสงฆ์ถือไว้ ขณะที่พระสงฆ์สวดบังสุกุล


 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
       
       
       
เว็บไซท์ www.landsamui.com | e-mail:info@landsamui.com | Tel. 089-6856100 |